วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การอ่านค่าความต้านทาน


การอ่านค่าความต้นทานนั้นอ่านตามหน่วยของความต้านทาน ( Unit of Resistance) โดยอ่านตามค่าความต้านทานที่แสดงไว้บนตัวเลขและตัวอักษรรวมกัน แบ่งการแสดงค่าออกเป็น 2 แบบ คือแบบแสดงค่าความต้านทานโดยตรงและแบบแสดงค่าความต้านทานเป็นรหัส ซึ่งอาจเป็นรหัสสีของตัวต้านทานแต่ลวิธีการอ่านมีดังนี้

การอ่านค่ารหัสสีของตัวต้านทาน
การอ่านค่ารหัสสีของตัวต้านทานมีอยู่ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1
อ่านจากค่าพิมพ์ที่ติดไว้บนตัวต้านทาน โดยจะบอกเป็นค่าความต้านทาน ค่าเปอร์เซ็นต์ความผิดพลาด และอัตราทดกำลังไฟฟ้า ซึ่งส่วนมาจะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดใหญ่ เช่นตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
วิธีที่ 2
อ่านจากค่ารหัสสีของตัวต้านทาน (Resistor Colour Code)ซึ่งส่วนมากจะเป็นตัวต้านทานคาร์บอน ฟิล์มคาร์บอน ฟิล์มโลหะ และแบบไวร์วาวด์ที่มีขนาดเล็ก

สำหรับการอ่านค่าความต้านทานที่เป็นรหัสสี จะแบ่งลักษณะการอ่านได้เป็น 2 แบบคือ

1. ระบบตัวหัวจุก (Body – End – Dot System) คือตัวต้านทานที่มีการต่อขาใช้งานในแนวรัศมีหรือทาด้านข้างของตัวต้านทาน

2. ระบบหัวถึงปลาย (End – To – Center Band System) คือ ตัวต้านทานที่มีลักษณะการต่อขาใช้งานตามความยาวของตัวต้านทาน


ตาราง ค่ารหัสสีตัวต้านทาน
1. การอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด


ตัวต้านทานชนิดนี้ตัวมันจะมีสีเดียวกันตลอด และมีการแต้มสีไว้บนที่ด้านหัวและตรงกลาง ซึ่งอาจจะทำเป็นจุดสีหรือทาสีไว้โดยรอบตัวต้านทาน




รูปแสดง วิธีการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด

วิธีการอ่านรหัสสีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้


1.พิจารณาสีพื้นของตัวต้านทานจะเป็นแถบสีที่ 1 (ตัวเลขที่ 1 )
2.สีแต้มที่ปลายด้านหัวที่ไม่ใช่สีน้ำเงินและสีทอง จะเป็นแถบสีที่ 2 (ตัวเลขที่ 2 )
3.สีแต้มหรือจุดสีที่อยู่ตรงกลางตัวต้านทานจะเป็นแถบสีที่ 3 (ตัวคูณ)
4.สีที่ปลายด้านท้ายที่เป็นสีเงิน สีทองหรือไม่มีสี จะเป็นแถบสีที่ 4 ( +_ % ค่าผิดพลาด)ในการการอ่านรหัส สีตัวต้านทานระบบตัวหัวจุด จะมีทั้งแบบ 3 หรือ 4 แถบสี ซึ่งจะมีวิธีการอ่านที่เหมือนกัน และใช้ค่ารหัสสีตัวต้านทานในตารางที่ 1


2. การอ่านรหัสสีของตัวต้านทานระบบหัวถึงปลาย


ตัวต้านทานบางแบบนิยมแสดงค่าความต้านทานไว้เป็นแถบสีโดยใช้สีที่เป็นมาตรฐานกำหนดแทนตัวเลขซึ่งแทนทั้งค่าความต้านทานและค่าความผิดพลาด แถบสีที่ใช้แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ แบบ 4 แถบสี และแบบ 5 แถบสี การอ่านค่าแถบสีเป็นค่าความต้านทานและค่าผิดพลาด ต้องเปลี่ยนแถบสีที่ทำกำกับไว้เป็นตัวเลขทั้งหมด แทนค่าตัวเลขให้ถูกต้องตามค่าตัวตั้ง ค่าตัวคูณ และค่าผิดพลาด ตามมาตรฐานที่กำหนด จะได้ค่าความต้านทานและค่าผิดพลาดของตัวต้านทานตัวนั้นออกมา


แบบ 4 แถบสี


ตัวต้านทานแบบ 4 แถบสี มีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 4 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ขาตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 แถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 2 ทั้ง 2 แถบสีแทนค่าเป็นตัวเลขแล้วอ่านได้โดยตรง ส่วนแถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 3 เป็นแถบสีตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีต่อมาเป็นแถบสีที่ 4 เป็นแถบสีแสดงค่าผิดพลาด แสดงดังตาราง ค่ารหัสสีตัวต้านทาน

ตัวอย่างการอ่านรหัสสีตัวต้านทาน

ตัวอย่าง 1


ตัวอย่าง 2

แบบ 5 แถบสี


ตัวต้านทานแบบ 5 แถบสีจะมีแถบสีแสดงบนตัวต้านทาน 5 แถบ การอ่านค่า ให้อ่านแถบสีที่อยู่ใกล้ตัวต้านทานมากที่สุดเป็นแถบสีที่ 1 เรียงลำดับเข้ามาเป็นแถบสีที่ 2 และแถบสีที่ 3 ทั้ง 3 แถบสิ่งที่เป็นตัวเลขสามารถอ่านค่าได้โดยตรง ส่วนแถบสีที่ 4 เป็นตัวคูณหรือจำนวนเลขศูนย์ (0) ที่ต้องเติมเข้าไป และแถบสีที่ 5 เป็นค่าผิดพลาด แสดงดังตารางที่ 2


ตารางตัวอย่างตัวต้านทานแบบ 5 แถบสี

ความต้านทานแบบ 6 สี จะอ่านค่า 5 แถบสีแรกแบบความต้านทาน 5 แถบสี ส่วนสีที่ 6 คือค่า Temperrature Coefdicient (CT) หรือสัมประสิทธ์ทางอุณหภูมิ มีหน่วยเป็น ppm (part per million : ส่วนในล้านส่วน) เป็นค่าแสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทาน เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป

แหล่งอ้างอิง

http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/note/content3.html

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ไฟฟ้า นับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม ปัจจุบันสถิติการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรเชื้อเพลิงหลัก ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติรวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน รูปแบบต่าง ๆ ควบคู่กันไป สำหรับพลังงานนิวเคลียร์ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงด้านพลังงานประเทศ ทั้งนี้เทคโนโลยีและมาตรฐานความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 50 ปี โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวม 437 โรง รวมทั้งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างเพิ่มอีกในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ลักษณะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกชื่อตามประเภทของเชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ต้นกำเนิดพลังงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะอาศัยพลังความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการแตกตัวของธาตุยูเรเนียม แล้วนำไปใช้ในกระบวนการผลิตไอน้ำที่ใช้ในการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รูปแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก อาคารปฏิกรณ์ อาคารกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอาคารอุปกรณ์ประกอบ รวมถึงบางแห่งอาจมีหอระบายความร้อน (Cooling Tower) ด้วย โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกมี 3 แบบ ได้แก่ - แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor – BWR) - แบบความดันสูง (Pressurized Water Reactor –PWR) - แบบแคนดู (CANDU)

กระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์


หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบน้ำเดือด

ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบวงจรเดียว ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 6 – 9 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำประมาณ 285 องศาเซลเซียส ไอน้ำจะถูกส่งไปกังหันโดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้า

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบความดันสูง

ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร ความดันภายในหม้อปฏิกรณ์ประมาณ 15.6 ล้านปาสกาล อุณหภูมิน้ำสูง ประมาณ 315 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดัน น้ำร้อนจะถูกส่งไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำจะถูกส่งไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า

หลักการทำงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบแคนดู

ระบบผลิตไอน้ำเป็นแบบสองวงจร แต่ใช้น้ำหนักมวล (Heavy water,D2O) แทนน้ำธรรมดา น้ำหนักมวลในท่อเชื้อเพลิงมีความดันประมาณ 10 ล้านปาสกาล มีอุณหภูมิสูงประมาณ 310 องศาเซลเซียส แต่ไม่เดือดเป็นไอเนื่องจากถูกควบคุมด้วยเครื่องอัดความดันน้ำร้อนจะถูกส่งไปยังเครื่องผลิตไอน้ำเพื่อทำให้น้ำในอีกวงจรหนึ่งเดือด ไอน้ำไปยังกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้า

แหล่งอ้างอิง

(http://www.energy.go.th/moen/KnowledgeDetail.aspx?id=61)



โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant)


ลักษณะการทำงาน โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม เป็นการนำเอาเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ และโรไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกัน โดยการนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ซึ่งมีความร้อนสูง (ประมาณ 500 องศาเซลเซียส) ไปผ่านหม้อน้ำ(Heat Recovery Steam Generator) และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอ เพื่อขับกังหันไอน้ำ สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไป โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะประกอบด้วยเครื่องกังหันก๊าซ 1 – 4 เครื่องร่วมกับกังหันไอน้ำ1 เครื่อง โดยมีประสิทธิภาพรวม 40-45% มีอายุการใช้งานประมาณ 20 ปี และใช้เป็นโรงไฟฟ้าผลิตพลังงานปานกลางถึงระดับฐาน(Medium to Base Load Plant)



ส่วนประกอบที่สำคัญ
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ เครื่องกังหันก๊าซ(เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ) หม้อน้ำ(Waste Heat Boiler หรือ Heat Recovery Load Generator) และเครื่องกังหันไอน้ำ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ)
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม สามารถแยกประเภทตามลักษณะของหม้อน้ำ ได้เป็นแบบ Unfired Type และFired Typeซึ่งยังแบ่งออกเป็น Supplementary Fired และ Exhaust Fired ลักษณะการใช้เชื้อเพลิงของหม้อน้ำชนิดต่างๆของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชนิดหม้อน้ำแบบ Unfired เป็นชนิดที่ไม่มีการใช้เชื้อเพลิง เพื่อการเผาไหม้ในหม้อน้ำแต่ใช้ไอเสียจากกังหันก๊าซเพียงอย่างเดียวโรงไฟฟ้าประเภทนี้กำลังผลิประมาณ 70 % จะเป็นกำลังผลิตจากเครื่องกังหันก๊าซและอีกประมาณ 30% จะเป็นกำลังผลิตจากเครื่องกังหันไอน้ำ
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชนิดหม้อน้ำแบบ Supplementary Fired มีการใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้ในหม้อน้ำเพิ่มกำลังผลิตผลิตของกังหันไอน้ำให้ประมาณ 50% ของกำลังผลิตทั้งหมดโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชนิดหม้อน้ำแบบ Exhaust Fired เพิ่มระบบเชื้อเพลิงและการเผาไหม้ให้มากขึ้นอีก เพื่อใช้ประโยชน์จากการเผาไหม้อ๊อกซิเจนที่เหลืออยู่ในไอเสีย จากเครื่องกังหันก๊าซให้เต็มที่ ซึ่งจะเพิ่มกำลังผลิตจากกังหันไอน้ำให้สูงถึงประมาณ 80% ของกำลังผลิตทั้งหมด




แหล่งที่มา

(http://prinfo.egat.co.th/combined.html)

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ภาพลวงตา

ภาพลวงตา เป็นภาพที่หลอกตาให้มองเห็นและรับรู้ผิดพลาดเป็นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับด้านรูปทรงและสี มีสาเหตุเนื่องจากการส่งสัญญาณจากตาไปยังสมองของคนเรา ภาพลวงตาที่เป็นที่รู้จักกันดีเช่น
1. ภาพลวงตาตาราง (Grid illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย ลูดิมาร์ เฮอร์มันน์ ในปี พ.ศ. 2413 มีลักษณะเป็นตารางที่มีพื้นสีดำและเส้นขอบสีขาว เมื่อมองภาพนี้จะเห็นจุดสีเทาบริเวณจุดตัดของเส้นขอบ แต่จุดดังกล่าวจะหายไปเมื่อมองไปที่จุดนั้น

2.ห้องเอมส์ (Ames room) เป็นห้องที่สร้างขึ้นสำหรับสร้างภาพลวงตา คิดคันโดย อเด็มเบิร์ต เอมส์ ในปี พ.ศ. 2489
ห้องเอมส์เมื่อมองจากด้านหน้าจะดูเหมือนเป็นห้องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก แต่ที่จริงแล้วเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู และด้านที่ลึกกว่าจะสร้างให้มีขนาดใหญ่กว่า
3.ลูกบาศก์เนกเกอร์ (อังกฤษ: Necker cube) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย ลุยส์ อัลเบิร์ต เนกเกอร์ นักผลิกศาสตร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ใน พ.ศ. 2375 เป็นภาพโครงสร้างของลูกบาศก์ ภาพนี้สามารถมองให้ด้านหน้าของลูกบาศก์เป็นด้านหน้าหรือด้านหลังของภาพก็ได้

4.ภาพลวงตาสีเดียวกัน (Same color illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย เอ็ดเวิร์ด เอช อเดลสัน ในปี พ.ศ. 2538 มีลักษณะเป็นตารางหมากรุก ช่อง A จะดูเหมือนว่ามีสีเข้มกว่าช่อง B แต่ในความเป็นจริงแล้ว ช่อง A และช่อง B มีสีเดียวกัน



5.ภาพลวงตาปอนโซ (Ponzo illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย มาริโอ ปอนโซ นักจิตวิทยาชาวอิตาลี ในปี พ.ศ. 2456 เป็นภาพเส้นตรงสองเส้นที่มีความยาวเท่ากัน แต่อยู่บนฉากหลังที่เป็นเส้นตรงที่มีความยาวต่างกัน เนื่องจากสมองของคนเราเปรียบเทียบขนาดของวัตถุจากพื้นหลัง ภาพลวงตานี้จึงให้ความรู้สึกว่าเส้นตรงทั้งสองเส้นยาวไม่เท่ากัน



6.แจกันรูบิน (อังกฤษ: Rubin vase) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดคันขึ้นประมาณ พ.ศ. 2458 โดย เอ็ดการ์ รูบิน นักจิตวิทยาชาวเดนมาร์ก เป็นภาพแจกันที่ด้านข้างสองด้านเป็นรูปใบหน้าคน




7.ภาพลวงตาแซนเดอร์ (Sander illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย ฟรีดริช แซนเดอร์ นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2469 เป็นภาพสี่เหลี่ยมด้านขนานสองรูป ที่เส้นทแยงมุมดูเหมือนว่ายาวไม่เท่ากัน แต่ความจริงแล้วทั้งสองเส้นมีความยาวเท่ากัน

8.ภาพลวงตาผนังร้านกาแฟ (Café wall illusion) เป็นภาพลวงตาชนิดหนึ่ง คิดค้นโดย ริชาร์ด เกรกอรี เป็นภาพของตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เส้นของในแนวนอนทุกเส้นขนานกัน แต่จากสีในภาพ ทำให้ดูเหมือนเส้นตรงแต่ละเส้นเอนไปมา



วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คุณสมบัติของแสง

คุณสมบัติของแสง

การสะท้อนแสง (Reflection)
การสะท้อนแสง หมายถึง การที่แสงไปกระทบกับตัวกลางแล้วสะท้อนไปในทิศทางอื่นหรือสะท้อนกลับมาทิศทางเดิมการสะท้อนของแสงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุด้วยว่าเรียบหรือหยาบโดยทั่วไปพื้นผิวที่เรียบและมันจะทำให้มุมของแสงที่ตกกระทบมีค่าเท่ากับมุมสะท้อนตำแหน่งที่แสงตกกระทบกับแสงสะท้อนบนพื้นผิวจะเป็นตำแหน่งเดียวกันดังรูปที่ 4.1 ก. ลักษณะของวัตถุดังกล่าว เช่น อลูมิเนียมขัดเงาเหล็กชุบโครเมียม ทอง เงินและกระจกเงา เป็นต้น แต่ถ้าหากวัตถุมีผิวหยาบ แสงสะท้อนก็จะมีลักษณะกระจายกันดังรูปที่ 4.1 ข. เช่น ผนังฉาบปูนกระดาษขาว โดยทั่วไปวัตถุส่วนใหญ่จะเป็นแบบผสมขึ้นอยู่กับผิวนั้นมีความมันหรือหยาบมากกว่า จะเห็นการสะท้อนแสงได้จากรูป 4.1 ก. และรูปที่ 4.1 ข.





รูป ก.การสะท้อนแสงบนวัตถุผิวเรียบ
รูป ข. การสะท้อนแสงผิวขรุขระ
กฎการสะท้อนแสง

1. รังสีตกกระทบ เส้นปกติและรังสีสะท้อนย่อมอยู่บนพื้นระนาบเดียวกัน

2. มุมในการตกกระทบย่อมโตเท่ากับมุมสะท้อน

การหักเหของแสง (Refraction)

การหักเห หมายถึง การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งทำให้แนวลำแสงเกิดการเบี่ยงเบนไปจากแนวเดิม เช่น แสงผ่านจากอากาศไปยังน้ำ ดังแสดงในรูป















รูปแสดงลักษณะการเกิดหักเหของแสง

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการหักเหของแสง - ความถี่ของแสงยังคงเท่าเดิม ส่วนความยาวคลื่น และความเร็วของแสงจะไม่เท่าเดิม - ทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงจะอยู่ในแนวเดิมถ้าแสงตำตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลางจะไม่อยู่ในแนวเดิม ถ้าแสงไม่ตกตั้งฉากกับผิวรอยต่อของตัวกลาง ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ของการหักเหของแสงเช่น แผ่นปิดหน้าโคมไฟ ซึ่งเป็นกระจกหรือพลาสติก เพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟที่ออกจากโคมไปในทิศทางที่ต้องการ จะเห็นว่าแสงจากหลอดไฟจะกระจายไปยังทุกทิศทางรอบหลอดไฟแต่เมื่อผ่านแผ่นปิดหน้าโคมไฟแล้ว แสงจะมีทิศทางเดียวกัน เช่นไฟหน้ารถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ ดังรูปที่



การกระจายแสง (Diffusion)


การกระจายแสง หมายถึง แสงขาวซึ่งประกอบด้วยแสงหลายความถี่ตกกระทบปริซึมแล้วทำให้เกิดการหักเหของแสง 2 ครั้ง (ที่ผิวรอยต่อของปริซึม ทั้งขาเข้า และขาออก) ทำให้แสงสีต่าง ๆ แยกออกจากกันอย่างเป็นระเบียบเรียงตามความยาวคลื่นและความถี่ ที่เราเรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum)

รุ้งกินน้ำ เป็นการกระจายของแสง เกิดจากแสงขาวหักเหผ่านผิวของละองน้ำ ทำให้แสงสีต่าง ๆ กระจายออกจากกันแล้วเกิดการสะท้อนกลับหมดที่ผิวด้านหลังของละอองน้ำแล้วหักเหออกสู่อากาศ ทำให้แสงขาวกระจายออกเป็นแสงสีต่าง ๆ กัน แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช้ประโยชน์จากการกระจายตัวของลำแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคมพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟหรือ โคมไฟชนิดปิดแบบต่าง ๆ


การทะลุผ่าน (Transmission) การทะลุผ่าน หมายถึงการที่แสงพุ่งชนตัวกลางแล้วทะลุผ่านมันออกไปอีกด้านหนึ่ง โดยที่ความถี่ไม่เปลี่ยนแปลงวัตถุที่มีคุณสมบัติการทะลุผ่านได้ เช่น กระจก ผลึกคริสตัล พลาสติกใส น้ำและของเหลวต่าง ๆ
การดูดกลืน (Absorbtion) การดูดกลืน หมายถึง การที่แสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในตัวกลางดยทั่วไปเมื่อมีพลังงานแสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในวัตถุใด ๆเช่น เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องต้มน้ำพลังงานแสง และยังนำคุณสมบัติของการดูดกลืนแสงมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าสีขาวจะดูดแสงน้อยกว่าสีดำ จะเห็นได้ว่าเวลาใส่เสื้อผ้าสีดำ อยู่กลางแดดจะทำให้ร้อนมากกว่าสีขาว

การแทรกสอด (Interference) การแทรกสอด หมายถึง การที่แนวแสงจำนวน 2 เส้นรวมตัวกันในทิศทางเดียวกัน หรือหักล้างกัน หากเป็นการรวมกัน ของแสงที่มีทิศทางเดียวกัน ก็จะทำให้แสงมีความสว่างมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าหักล้างกัน แสงก็จะสว่างน้อยลด การใช้ประโยชน์จากการสอดแทรกของแสง เช่น กล้องถ่ายรูปเครื่องฉายภาพต่าง ๆ และการลดแสงจากการสะท้อน ส่วนในงานการส่องสว่าง จะใช้ในการสะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสง

สรุป คุณสมบัติต่าง ๆ ของแสงแต่ละคุณสมบัตินั้น เราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น คุณสมบัติของการสะท้อนแสงของวัตถุ เรานำมาใช้ในการออกแบบแผ่นสะท้อนแสงของโคมไฟ การหักเหของแสงนำ มาออกแบบแผ่นปิดหน้าโคมไฟ ซึ่งเป็นกระจก หรือพลาสติกเพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟ ที่ออกจากโคมไปในทิศที่ต้องการ การกระจายตัวของลำแสงเมื่อกระทบตัวกลางเรานำมาใช้ประโยชน์ เช่นใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคมเพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ ต่าง ๆ การดูดกลืนแสง เรานำมาทำ เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ครื่องต้มพลังงานแสง และการแทรกสอดของแสง นำมาใช้ประโยชน์ในกล้องถ่ายรูป เครื่องฉายภาพต่าง ๆ จะเห็นว่าคุณสมบัติแสงดังกล่าวก็ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราทั้งนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กล้องโทรทรรศน์







กล้องโทรทรรศน์ (Telescope)


กล้องโทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูวัตถุที่อยู่ไกล ประกอบด้วยเลนส์ 2 เลนส์ มี 2 ประเภทคือ
ก. กล้องโทรทรรศน์หักเห (Refracting telescope) ใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้วัตถุมีความยาวโฟกัสมากอาจจะถึงหลาย ๆ เมตร เนื่องจากวัตถุที่ต้องการดูอยู่ไกล มากดังนั้นภาพที่เกิดจึงตกที่จุดโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุเป็นวัตถุเสมือนของเลนส์ใกล้ตาโดยใช้เลนส์เว้าหรือเลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้ตาก็ได้ วัตถุเสมือนนี้จะอยู่ระหว่างจุดโฟกัส ของเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ ดังนั้นภาพสุดท้ายที่เกิดขึ้นจะได้ภาพเสมือนขนาดขยาย



ข. กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflecting telescope) ใช้กระจกเว้ารูปพาราโบลาที่ไม่มีความคลาดเป็นตัวสะท้อนแสงใกล้วัตถุ ภาพที่ได้เกิดขึ้นที่ จุดโฟกัสใช้กระจกนูนเป็นตัวสะท้อนครั้งที่สอง เกิดภาพเสมือนขนาดขยาย
กล้องดาราศาสตร์เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ประกอบด้วยเลนส์นูน 2 อัน เลนส์ใกล้วัตถุจะรับแสงสะท้อนจากวัตถุที่ระยะอนันต์ เกิดภาพจริงหัวกลับที่จุดโฟกัสของเลนส์ ใกล้วัตถุแต่อยู่ในระยะที่น้อยกว่าโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา ได้ภาพเสมือนขนาดขยาย ความยาวของกล้องเท่ากับความยาวโฟกัสของเลนส์ทั้งสอง